เมนู

ก็บัญญัติใด มีคำว่า ไม้ 3 อัน บท 8 บท กองข้าวเปลือก กอง
ดอกไม้ เป็นต้น เพราะมุ่งการประชุมของวัตถุเหล่านั้น ๆ บัญญัตินี้ ชื่อว่า
สโมธานบัญญัติ.
บัญญัติใดมีคำว่า 2,3,4 เป็นต้น เพราะมุ่งยกบทต้น ๆ นี้ก่อนแล้ว
บัญญัติ นี้ชื่อว่า อุปนิกขิตตบัญญัติ.
บัญญัติใด มีคำว่า ปฐวี เตโช ความแข็ง ความร้อนเป็นต้น
เพราะเพ่งสภาวธรรมนั้น ๆ บัญญัตินี้ ชื่อว่า ตัชชาบัญญัติ.
ก็บัญญัติใด มีคำเป็นต้นว่า คนมีอายุ 80 ปี คนมีอายุ 90 ปี ดังนี้
เพราะเพ่งความเป็นของสืบต่อกันไม่ขาดสาย บัญญัตินี้ ชื่อว่า สันตติบัญญัติ.
อนึ่ง ในบรรดาบัญญัติ 6 เหล่านั้น ตัชชาบัญญัติ ก็คือ วิชชมาน-
บัญญัตินั่นเอง. บัญญัติที่เหลือย่อมรวมเป็นพวกอวิชชมานบัญญัติ และอวิชช-
มาเนน อวิชชมานบัญญัติ.

อีกนัยหนึ่งบัญญัติ 6 ของอาจารย์


อีกนัยหนึ่ง บัญญัติ 6 ตามนัยของอาจารย์ นอกจากอรรถกถา คือ
1. กิจจบัญญัติ
2. สัณฐานบัญญัติ
3. ลิงคบัญญัติ
4. ภูมิบัญญัติ
5. ปัจจัตตบัญญัติ
6. อสังขตบัญญัติ

บรรดาบัญญัติ 6 เหล่านั้น การบัญญัติด้วยสามารถแห่งกิจมีคำว่า
นักธรรมกถึก เป็นต้น ชื่อว่า กิจจบัญญัติ.

การบัญญัติด้วยสามารถแห่งทรวดทรง มีคำว่า ผอม อ้วน กลม
สี่เหลี่ยมเป็นต้น ชื่อว่า สัณฐานบัญญัติ.
การบัญญัติ ด้วยสามารถแห่งเพศ มีคำว่า หญิง ชาย เป็นต้น ชื่อว่า
ลิงคบัญญัติ.
การบัญญัติ ด้วยสามารถแห่งภูมิ มีคำว่า กามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร ชาวโกศล ชาวมาธุระเป็นต้น ชื่อว่า ภูมิบัญญัติ.
การบัญญัติ ด้วยสามารถสักว่าการตั้งชื่อเฉพาะมีคำว่า ท่านติสสะ
นาคะ สุมนะเป็นต้น ชื่อว่า ปัจจัตตบัญญัติ.
การบัญญัติอสังขตธรรม มีคำว่า นิโรธ คือ พระนิพพานเป็นต้น
ชื่อว่า อสังขตบัญญัติ.
บรรดาบัญญัติเหล่านั้น ภูมิบัญญัติบางอย่าง และอสังขต-
บัญญัติ ก็คือ วิชชมานบัญญัตินั่นแหละ. กิจจบัญญัติ จัดเข้าเป็น
พวกวิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ. บัญญัติที่เหลือ ชื่อว่า อวิชช-
มานบัญญัติ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงจำแนกบัญญัติที่พระองค์ทรงสรุป
ไว้โดยย่อในอุทเทสวาระนั้นแล้วแสดง ด้วยสามารถแห่งการแสดง จึงตรัสคำว่า
กิตฺตาวตา เป็นต้น . ในอุทเทสวาระนั้น บัญญัติพึงทราบเนื้อความแห่งคำถาม
อย่างนี้ก่อนว่า การบัญญัติ การแสดง การแต่งตั้งซึ่งธรรมที่เป็นกองทั้งหลาย
ว่า เป็นขันธ์ อันใดนี้ การบัญญัติ การแสดง การแต่งตั้งนั้น มีประมาณ
เท่าไร ดังนี้ เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา (ถามเพื่อจะตอบเอง). แม้ในคำทั้งหลาย
มีคำว่า กิตฺตาวตา อายตนานํ เป็นต้น ข้างหน้าก็นัยนี้แหละ.

ส่วนในคำวิสัชนา บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า คำว่า ขันธ์
5 โดยสังเขป หรือว่า โดยประเภท คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ หรือ
ว่า ในขันธ์ 5 แม้นั้น รูปขันธ์เป็นกามาวจร ขันธ์ 4 ที่เหลือเป็นไปในภูมิ 4
เป็นต้น การบัญญัติเห็นปานนี้ย่อมมีด้วยบัญญัติมีประมาณเท่าใด การบัญญัติ
ธรรมทั้งหลายที่เป็นกองว่า เป็นขันธ์ มีอยู่โดยประมาณเท่านี้.
บัญญัติเห็นปานนี้ว่า อายตนะมี 12 โดยสังเขป หรือว่า โดยประเภท
ว่า จักขวายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ หรือว่า ในอายตนะแม้เหล่านั้น อายตนะ
10 เป็นกามาวจร อายตนะ 2 เป็นไปในภูมิ 4 ดังนี้ ย่อมมีด้วยบัญญัติมี
ประมาณเท่าใด การบัญญัติธรรมทั้งหลายอันเป็นบ่อเกิดว่า เป็นอายตนะ ย่อม
มี ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
ก็บัญญัติเห็นปานนี้ว่า ธาตุ 18 โดยสังเขป หรือว่า โดยประเภทว่า
จักขุธาตุ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ หรือว่า บรรดาธาตุแม้เหล่านั้น ธาตุ 16
เป็นกามาวจร ธาตุ 2 เป็นไปในภูมิ 4 ดังนี้ ย่อมมีด้วยบัญญัติมีประมาณ
เท่าใด การบัญญัติธรรมทั้งหลายอันเป็นสภาวะทรงไว้ว่า เป็นธาตุ ย่อมมีด้วย
คำมีประมาณเท่านี้.
บัญญัติเห็นปานนี้ว่า สัจจะมี 4 โดยสังเขป หรือว่า โดยประเภทว่า
ทุกขสัจจะ ฯลฯ นิโรธสัจจะ หรือว่า บรรดาสัจจะแม้เหล่านั้น สัจจะ 2 เป็น
โลกิยะ สัจจะ 2 เป็นโลกุตตระ ดังนี้ ย่อมมีด้วยคำบัญญัติมีประมาณเท่าใด
การบัญญัติธรรมทั้งหลายที่เป็นจริงว่า สัจจะ ย่อมมีด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
บัญญัติเห็นปานนี้ว่า อินทรีย์มี 22 โดยสังเขป หรือโดยประเภทว่า
จักขุนทรีย์ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ หรือว่า บรรดาอินทรีย์แม้เหล่านั้น อินทรีย์
10 เป็นกามาวจร อินทรีย์ 9 เป็นมิสสกะ อินทรีย์ 3 เป็นโลกุตตระ ดังนี้

ย่อมมีด้วยคำบัญญัติมีประมาณเท่าใด การบัญญัติธรรมทั้งหลายที่เป็นใหญ่ว่า
เป็นอินทรีย์ย่อมมีด้วยคำมีประมาณเท่านี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนก
เรื่องบัญญัติโดยสังเขป ด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล้วจึงทรงแสดงบัญญัติ 5 ด้วย
สามารถแห่งการแสดงต่อไป.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกเรื่องบัญญัติโดยพิศดาร
แล้ว เพื่อจะทรงแสดงปุคคลบัญญัติ (บัญญัติว่าด้วยบุคคล) ด้วยสามารถแห่ง
การแสดง สมยวิมุตโต อสมยวิมุตโต เป็นต้น. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นดุจบุคคลผู้ท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ และบุคคลผู้กำลังเป็นไป ตรัสขันธ์
เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องบัญญัตินี้ 5 เหล่านี้ไว้โดยพิศดารในวิภังคปกรณ์แล้ว เพราะ
ฉะนั้น ในปกรณ์ปุคคลบัญญัตินี้ จึงตรัสธรรมมีขันธ์เป็นต้นเหล่านั้นโดย
เอกเทสเท่านั้น. ปุคคลบัญญัติที่ 6 ก็มิได้ตรัสไว้ในหนหลังเลย ในอุทเทสวาร
แม้นี้ ก็ตรัสไว้โดยเอกเทสเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีความ
ประสงค์จะตรัสปุคคลบัญญัติอันเป็นบัญญัติที่ 6 นั้น โดยพิศดาร จึงทรงตั้ง
มาติกาไว้ว่า สมยวิมุตฺโต อสมยวิมุตฺโต เป็นต้น จำเดิมแต่บุคคล
หนึ่งพวกจนถึงบุคคลสิบพวก แล.
จบพรรณนาบทมาติกา

เอกกนิทเทส


อธิบายบุคคล 1 จำพวก


[17]

สมยวิมุตตบุคคล

บุคคลผู้พ้นแล้วในสมัย เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ 8 ด้วยกาย ในกาลโดยกาล
ในสมัยโดยสมัย แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่. อนึ่ง อาสวะบางอย่างของบุคคลนั้น
หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้พ้นแล้วใน
สมัย.


อรรถกถาเอกกนิทเทส สมยวิมุตตบุคคล


บัดนี้ เพื่อจะจำแนกมาติกา ตามที่ได้ดังไว้แต่ต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า "กตโม จปุคฺคโล สมยวิมุตฺโต" แปลว่า ก็สมยวิมุตต
บุคคล
เป็นไฉน ? ในคำเหล่านั้น คำว่า อิธ ได้แก่ ในสัตวโลก. คำว่า
เอกจฺโจ ปุคฺคโล ได้แก่ บุคคลคนหนึ่ง. ในคำว่า กาเลน กาลํ นี้
พึงทราบเนื้อความด้วยสัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่า ในกาลหนึ่ง ๆ คำว่า " สมเยน
สมยํ"
นี้เป็นไวพจน์ของคำก่อนนั้นแหละ (คือเป็นไวพจน์ของคำว่า กาเลน
กาลํ
) คำว่า "อฏฺฐ วิโมกฺเข" ได้แก่ สมาบัติ 8 อันเป็นรูปาวจร และ
อรูปาวจรฌาน. จริงอยู่ คำว่า วิโมกข์ นี้เป็นชื่อของสมาบัติ 8 เหล่านั้นเพราะ
พ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลาย. คำว่า "กาเยน" ได้แก่ นามกายที่เกิด
พร้อมกับวิโมกข์. คำว่า "ผุสิตฺวา วิหรติ" ได้แก่ ได้สมาบัติแล้ว จึงผลัด
เปลี่ยนอิริยาบถอยู่.
ถามว่า ก็ สมยวิมุตตบุคคลนี้ ถูกต้องวิโมกข์ แล้วอยู่ในกาลไหน ?